ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต

นายกองเอก พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต (20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2463 — 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520) หรือพระนามเดิม หม่อมเจ้าวิภาวดี รังสิต (ราชสกุลเดิม: รัชนี) นักเขียนชาวไทย เจ้าของนามปากกา ว.ณ ประมวญมารค มีผลงานประพันธ์ที่สร้างชื่อเสียงจากเรื่อง ปริศนา

หม่อมเจ้าวิภาวดี รังสิต ได้รับการสถาปนาเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2520 หลังสิ้นชีพิตักษัยขณะประกอบพระกรณียกิจแทนพระองค์ และได้มีการจัดงาน "วันวิภาวดี" เพื่อถวายสดุดี

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต มีพระนามเดิมเมื่อแรกประสูติคือ หม่อมเจ้าวิภาวดี รัชนี เป็นพระธิดาในพระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ประสูติแต่หม่อมเจ้าพรพิมลพรรณ รัชนี (พระนามเดิม: หม่อมเจ้าพิมลพรรณ วรวรรณ) มีพระอนุชาร่วมพระบิดามารดาเดียวกันคือ หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี

หม่อมเจ้าวิภาวดี รังสิต เสกสมรสกับหม่อมเจ้าปิยะรังสิต รังสิต พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 โดยได้รับพระราชทานน้ำพระมหาสังข์จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และมีธิดาสองท่าน คือ

พระองค์ทรงมีผลงานนวนิยาย โดยเฉพาะนวนิยายในแนวรักสุข ด้วยพระนามแฝง ว.ณ ประมวญมารค ซึ่งเป็นพระนามแฝงเดียวที่ใช้ ถ้าไม่ใช้พระนามแฝงก็จะทรงใช้ชื่อพระนามเลย ซึ่งท่านได้ทรงอธิบายพระนามแฝงว่า ตัว ว. คืออักษรย่อตัวแรกของชื่อคือวิภาวดี, ตัว ณ (ณะ) แปลว่า แห่ง, คำว่า ประมวญ คือ ชื่อถนนที่บ้านของท่าน (วังประมวญ) ตั้งอยู่, คำว่า มารค หรือ มรคา คือ ถนนในภาษาแขก ดังนั้น ว.ณ ประมวญมารค ก็คือ ว.แห่งถนนประมวญ นั่นเอง

หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี พระอนุชาของพระองค์ ทรงใช้นามปากกาว่า ภ.ณ ประมวญมารค ด้วยเหตุผลเดียวกัน

พระองค์เจ้าหญิงวิภาวดีรังสิต ทรงเริ่มต้นที่โรงเรียนผดุงดรุณี อยู่ 1 ปี ต่อมาได้ทรงย้ายมาเข้าที่โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัยไม่ถึงปีก็เสด็จไปศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัยจนจบชั้นมัธยมปีที่ 8 มหาวิทยาลัยน.ม.ส. การเรียนในสมัยนั้น ผู้สอนเป็นแม่ชีชาวอเมริกันและยุโรป กวดขันเรื่องภาษาแก่เด็กนักเรียนอย่างเอาจริงเอาจัง ตำราต่างล้วนเป็นภาษาอังกฤษ แม้แต่ตำราคณิตศาสตร์ก็เรียนเป็นภาษาอังกฤษล้วน เด็กนักเรียนจึงอ่านเขียนและพูดภาษาอังกฤษได้คล่อง พระองค์เจ้าหญิงวิภาวดีฯ ทรงเล่าว่า " พูดอังกฤษได้คล่องตั้งแต่ยังเป็นนักเรียนอยู่ เพราะได้ศึกษาจากมาแมร์เจ็มมะ ซึ่งจ้ำจี้จ้ำไชขนาดหนักมาตั้งแต่เด็ก"

หม่อมเจ้าหญิงวิภาวดี รังสิต ได้เข้ารับราชการสนองพระเดชพระคุณโดยเสด็จเยื่ยมราษฎรในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่ พ.ศ. 2500 และพระกรณียกิจที่เสด็จแทนพระองค์ไปทรงเยี่ยม ทหาร ตำรวจ พลเรือน ตั้งแต่ พ.ศ. 2510 เป็นต้นมา

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 ขณะเสด็จไปรับตำรวจตระเวนชายแดนที่บาดเจ็บจากการเหยียบกับระเบิด ที่ ตำบลบ้านส้อง อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้ก่อการร้ายได้ระดมยิงมาที่เฮลิคอปเตอร์ที่ประทับ หม่อมเจ้าหญิงวิภาวดี รังสิต ทรงถูกยิงถึงแก่พระชนม์ ซึ่งก่อนการสิ้นพระชนม์พระองค์ยังมีพระสติสัมปชัญญะดี ทรงเป็นห่วงตำรวจตระเวนชายแดนอยู่ตลอด มีรับสั่งว่า “ตชด.เป็นอย่างไรบ้าง เอาออกมาได้หรือยัง ให้รีบไปส่งโรงพยาบาล อย่าให้พวกมันรู้ว่าฉันถูกยิง มันจะเหิมเกริม” และ “ฉันไม่เป็นไรแล้ว ตชด.มาหรือยัง ให้รีบไปส่งโรงพยาบาลด่วน” ผู้เห็นเหตุการณ์ยังเล่าอีกว่า พระองค์ตรัสขอให้พระมหาวีระและครูบาธรรมชัยกราบถวายบังคมลาพระเจ้าอยู่หัวแทน ทรง "ขอนิพพาน" และตรัสเป็นประโยคสุดท้ายว่า ทรงเห็นนิพพานแล้ว พระนิพพานที่พระองค์เห็นนั้น สวยงดงาม และ "แจ่มใสเหลือเกิน"

วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2520 มีพระบรมราชโองการสถาปนา หม่อมเจ้าหญิงวิภาวดี รังสิต เป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต ต่อมา และได้นำพระนาม "วิภาวดีรังสิต" มาใช้เป็นชื่อถนนตามพระนามดังกล่าว (เดิมชื่อ: ถนนซูเปอร์ไฮเวย์)

นอกจากนี้พระองค์ยังเป็นที่รักยิ่งของชาวอำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฏร์ธานี เนื่องด้วยพระองค์เป็นผู้นำความเจริญต่างๆไปสู่พื้นที่จนได้รับฉายาว่า เจ้าแม่พระแสง และพระองค์ยังได้ประทานชื่อตำบลบางสวรรค์ ซึ่งเป็นตำบลหนึ่งในอำเภอพระแสง

ได้เคยเป็นเลขานุการของพ่อตอนพระเนตรเป็นต้อ ก็ทรงบอกให้ฉันเขียนหน้าห้าไปลงหนังสือ "ประมวญวัน" ทุกวัน และยังรับคำบอกของท่าน เรื่อง "สามกรุง" และอื่นๆ เป็นเล่มๆทีเดียวการที่ได้ทรงคลุกคลีอยู่กับหนังสือ และยังทรงได้ใกล้ชิดกับเสด็จพ่อ ผู้ทรงเป็นกวีเอก ทำให้พระองค์เจ้าหญิงวิภาวดีรังสิต สนพระทัยที่จะนิพนธ์ขึ้นเองบ้าง เมื่อพระชันษาเพียง 14 ปี

พระนิพนธ์เรื่องแรก ไม่ใช่ "ปริศนา" แต่เป็นเรื่องแปล ชื่อ "เด็กจอมแก่น" ทรงแปลจากหนังสือรวมเรื่องสั้นชุด William ของ Richmal Crompton ซึ่งเป็นนักเขียนวรรณกรรมเยาวชนชื่อดังของอังกฤษ ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 1

วิลเลียม เป็นเด็กชายอายุ 11 ปี อาศัยอยู่ในหมู่บ้านเล็กๆในชนบทของอังกฤษ มีเพื่อนร่วมแก๊งค์อีก 3 คน ชื่อจินเจอร์ ดักลาส เฮนรี่ เรียกตัวเองว่า คณะนอกกฎหมาย หรือ The Outlaws เจตนาดีของวิลเลียม ด้วยความไร้เดียงสาประสาเด็ก ก่อเรื่องปวดเศียรเวียนเกล้าให้ผู้ใหญ่เวียนหัวไปตามๆกัน แต่ก็ขบขันครื้นเครงสำหรับคนอ่าน

เรื่องนี้เมื่อลงพิมพ์ ใน "ประมวญสาร" เป็นเรื่องที่ขายดีมาก นักเรียนโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนที่อยู่ใกล้โรงพิมพ์ ได้เข้ามาซื้อจนเกลี้ยงโรงพิมพ์กลายเป็นเรื่องขายดี เพราะเด็กนักเรียนชอบอ่าน ทรงรำลึกว่า "การที่ข้าพเจ้ากลายเป็นนักเขียนขึ้นมาตั้งแต่อายุ 14 ปีนั้น ก็เพราะข้าพเจ้ามีพ่อแม่ที่เข้มงวด อยากให้ข้าพเจ้ารู้ค่าของเงิน จึงไม่ได้ตามใจข้าพเจ้าให้เงินทองใช้จนเหลือเฟือ แต่สนับสนุนข้าพเจ้าในทางที่ควร คือสอนให้มีมานะ ให้รู้จักใช้หัวคิดที่จะทำโน่นทำนี่เพื่อถึงจุดหมายในความต้องการของตน... ถ้าพ่อแม่ของข้าพเจ้าไม่ฉลาด เห็นการณ์ไกลและสนับสนุนข้าพเจ้าในทางที่ถูกที่ควรแล้ว ว.ณ ประมวญมารค ก็คงจะไม่มีกำเนิดขึ้นมาในโลก คงจะดำดินอยู่ตลอดชีวิต ไม่มีผลงานออกมาให้ใครได้อ่านสักชิ้นเดียวเป็นแน่"


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

แรง (ฟิสิกส์) ความยาว การเคลื่อนที่ ทฤษฎีเคออส กลศาสตร์แบบลากรางช์ เอนริโก แฟร์มี สมมาตรยิ่งยวด CERN Large Hadron Collider ไอน์สไตน์ ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป กาลิเลโอ ฟิสิกส์อนุภาค วิศวกรรมวัสดุ เซมิคอนดักเตอร์ นาโนเมตร วัสดุนาโน วัสดุฉลาด วัสดุเชิงก้าวหน้า วัสดุชีวภาพ พอลิเมอร์ เซรามิก สเปกโตรสโกปี อุณหเคมี ไฟฟ้าเคมี เคมีเชิงฟิสิกส์ โลหะอินทรีย์เคมี เคมีพอลิเมอร์ เคมีนิวเคลียร์ ชีววิทยาโมเลกุล เคมีเวชภัณฑ์ เคมีดาราศาสตร์ เคมีไคเนติกส์ สารประกอบอนินทรีย์ สารประกอบเคมี สารประกอบ John Dalton ทฤษฎีโฟลจิสตัน อ็องตวน ลาวัวซีเย Robert Boyle ปฏิกิริยาเคมี รายชื่อคณะวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย เคมีสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม Social psychology วิทยาศาสตร์สังคม เทคนิคการแพทย์ เวชศาสตร์ พยาธิวิทยา เนื้องอกวิทยา ทัศนมาตรศาสตร์ Pharmacy บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ วิทยาศาสตร์พุทธิปัญญา สารสนเทศศาสตร์ วิทยาการสารสนเทศ สัตววิทยา วิทยาไวรัส ประสาทวิทยาศาสตร์ อณูชีววิทยา จุลชีววิทยา วิทยาภูมิคุ้มกัน มีนวิทยา มิญชวิทยา กีฏวิทยา Developmental biology วิทยาเซลล์ ชีววิทยาของเซลล์ วิทยาแผ่นดินไหว ชลธารวิทยา สมุทรศาสตร์ เคมีความร้อน เคมีไฟฟ้า เคมีการคำนวณ เคมีวิเคราะห์ Particle physics พลศาสตร์ของไหล พลศาสตร์ สวนศาสตร์ ฟิสิกส์เชิงทฤษฎี โป๊ป ความเรียง เรอเน เดส์การตส์ การสังเกต การทดลอง ฟรานซิส เบคอน กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความรู้เชิงประจักษ์ คณิตตรรกศาสตร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย ไม้บรรทัด กระดูกนาเปียร์ ลูกคิด การแข่งขันคณิตศาสตร์ รางวัลอาเบล เหรียญฟิลด์ส ปัญหาของฮิลแบร์ท กลุ่มความซับซ้อน พี และ เอ็นพี ข้อความคาดการณ์ของปวงกาเร สมมติฐานความต่อเนื่อง

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
235
236
237
238
239
240
241
242
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 24187